สำหรับผู้สนใจ
ของศักดิ์สิทธิ์มีพลังมากขึ้นนั้น ต้องอาศัย"หัวใจของผู้บูชา"ด้วยเช่นกัน
***เคล็ดความศักดิ์สิทธิ์***
จะให้ของศักดิ์สิทธิ์มีพลังมากขึ้นนั้น ต้องอาศัย"หัวใจของผู้บูชา"ด้วยเช่นกัน
จะให้ของศักดิ์สิทธิ์มีพลังมากขึ้นนั้น ต้องอาศัย"หัวใจของผู้บูชา"ด้วยเช่นกัน
ยิ่งศรัทธามากเท่าไหร่ ยิ่งขลังมาก!!!
ยิ่งมากคนบูชา ยิ่งมากความศักดิ์สิทธิ์
หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโม วัดป่าจันทรังสี อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโม
วัดป่าจันทรังสี อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
คอลัมน์ มงคลข่าวสด ข้อมูลข่าวสด http://www.khaosod.co.th
ที่บ้านนาสีดา ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีวัดป่าวัดหนึ่งอยู่กลางทุ่งกว้าง ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าไม้ตะเคียนหนาทึบ บัดนี้ ป่าหายหลังจากรพช.ตัดถนนเข้าไป กลายเป็นหมู่บ้านชาวไร่ชาวนา วัดนี้ชื่อ "วัดป่าจันทรังสี" สาขาวัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษย์ หรือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สมภารเจ้าวัดคือ "หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโม" อายุ 80 ปี พรรษา 59
พระเถระสายวิปัสสนากรรมฐาน ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งยังดำรงชีพเป็นมิ่งขวัญของชาวบ้าน และคณะสงฆ์อรัญวาสี โดยเป็นพระวิปัสสนาจารย์รูปที่ 3 แห่งภาคอีสานเหนือ รองจากพระไตรโลกาจารย์ วัดศรีเมือง และหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต
ท่านเกิดในตระกูล "ปราบพลพาล" เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิ.ย. 2465 บุตรของนายกรม และนางอาน มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน วัยเด็กคลุกคลีอยู่กับวัด เพราะบิดาเป็นมัคนายกวัดบ้านนาสีดา อายุ 10 ขวบ ก็เข้ารับการศึกษาประชาบาลที่วัดบ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ระยะแรกที่เรียนหนังสือนั้นต้องไปๆ มาๆ ระหว่างวัดกับบ้าน ผลที่สุดได้ไปอยู่วัดเป็นประจำ จนจบชั้นประถม 4 ก็กลับมาอยู่บ้าน ด้วยเหตุที่วัดไม่มีพระอยู่ ต่อมามีพระกรรมฐานเดินรุกขมูลมาพัก จึงเข้าไปปฏิบัติรับใช้อยู่จนกว่าท่านจะออกเดินทางหาวิเวกที่อื่น พออายุ 15 ปี ได้ไปอยู่กับท่านอาจารย์เกตุ ขนฺติโก พี่ชายหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสระวารี อ.บ้านผือ และได้รับการสอนให้เขียนหนังสือขอมาหนึ่งปีผ่านไป ก็ย้ายไปอยู่ถ้ำพระนาผักหอก อ.บ้านผือ กับอาจารย์วารี เรี่ยวแรง
จากนั้นอายุ 17 ปี โยมพ่อเสียชีวิต จึงกลับไปช่วยครอบครัวทำนาทำไร่อยู่จนอายุครบ 20 ปี ก็เข้าอุปสมบท ณ วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2485
ท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) ครั้งดำรงสมณศักดิ์พระครูวิชัยสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลังพรรษาแรกผ่านพ้น ท่านออกวิเวกไปในที่ต่างๆ อาทิ บ้านน้ำอ้อม อ.วังสะพุง จ.เลย และวัดหนองขาม อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ก่อนที่จะกลับมาเกณฑ์ทหารในปีพ.ศ. 2486 ในปีนั้น ได้จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี เข้าเรียนนักธรรมชั้นตรี ปรากฏว่าสอบได้ ทางการจึงยกเว้นไม่ต้องไปเป็นทหารจึงไปพักกับอาจารย์เกตุที่วัดป่าช้าบ้านสว่าง
ปีพ.ศ. 2487 กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี เรียนนักธรรมโท ออกพรรษาสอบได้แล้วก็ออกรุกขมูลมาตามริมแม่น้ำโขง บุกป่าผ่าดงมาจนถึงวัดพระพุทธบาทคอแก้ง (เวินกุ่ม) ก่อนจะกลับไปบ้านนาสีดาในปีพ.ศ.2488
ปีพ.ศ. 2498 จำพรรษาที่วัดศรีชมชื่น (วัดป่าบ้านนาสีดา) เดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และได้รับการฝากให้เป็นศิษย์รับใช้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตอยู่ปฏิบัติอาจาริยวัตรกับหลวงปู่มั่นเป็นเวลา 2 พรรษา คือ ปีพ.ศ.2490-2491 ก็กราบลาไปเที่ยววิเวกที่บ้านห้วยหวายกับหลวงปู่อุ่น ชาคโร
ปีพ.ศ. 2492 กลับมาอยู่กับหลวงปู่เทสก์ และช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นจนเสร็จสิ้น ก็เที่ยววิเวกไปกับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร และหลวงปู่อรุณ อุตตโม วัดพระบาทนาสิงห์ อ.โพนพิสัย จ.หนองคายต่อมาได้ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปเผยแผ่ธรรมที่ภาคใต้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2495-2499 และกลับมาอยู่วัดศรีชมชื่นถึงปีพ.ศ. 2514 ย้ายออกมาอยู่บริเวณป่าช้าดงบ้านเลา ซึ่งเป็นสถานที่กว้างขวางร่มรื่นเงียบสงบ ก่อสร้างกุฏิ เสนาสนะต่างๆ โดยลำดับ
โดยตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า "วัดป่าบ้านนาสีดา" และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2531
หลวงปู่จันทร์โสมท่านมีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จึงได้รับการอบรมบ่มสอนมาตั้งแต่เด็ก แม้บวชเรียนแล้วก็อยู่ในสายตา คอยแนะนำทางที่ถูกให้ประพฤติปฏิบัติไม่เคยทอดทิ้งจนกระทั่งตัวท่านละสังขารไป
เหตุการณ์สำคัญในชีวิตก็คือ การไปใช้ชีวิตกับหลวงปู่เทสก์นานถึง 8 ปี ในการเผยแผ่พระธรรมและกรรมฐานที่ภูเก็ต สมัยนั้น "พระป่า" ยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดปัญหาขัดแย้งจนถึงขับไล่ไสส่งกัน แต่คณะของหลวงปู่เทสก์ก็ต่อสู้แก้ไขจนสถานการณ์ลุล่วงไปด้วยดี
นอกจากนี้ จากการได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิดถึง 2 ปี จึงได้รับ "ของดี" มาอย่างเต็มๆ ทั้งข้อวัตรปฏิบัติ การสำรวมกาย วาจา ใจปฏิปทาและหลักธรรมนานาของพระอาจารย์ใหญ่ ซึบซาบเข้าในสายเลือดสมัยนั้นการเข้าไปขอสมัครเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการกลั่นกรองเป็นขั้นเป็นตอนพระเณรที่ขาดการสำรวมทำอะไรไม่ถูกต้อง จะโดนดุว่าตรงๆ แรงๆ เป็นการถากถางกิเลส คนจิตไม่แกร่ง ไม่ทน จึงพากันถอย
สำหรับหลวงปู่จันทร์โสม ท่านสอบผ่านโดยง่ายดาย เพราะอุปนิสัยเป็นคนที่มีความอดทนสูงมาแต่เยาว์วัย
ปัจจุบันจึงเป็นพระผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านชาวเมืองกราบไหว้ยกย่องนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา รวมทั้งการเทศนาสอนธรรมกรรมฐานแก่ญาติโยม ท่านบริหารวัดตามแนวของหลวงปู่เทสก์ ด้วยการสร้างศรัทธาปสาทะให้ญาติโยมรอบวัดเลื่อมใสก่อน ส่วนการปฏิบัติธรรมได้ยึดตามแนวหลวงปู่มั่น เทศนาหรือบทธรรมของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในชีวิตประจำวันของผู้คน อาทิ
"คนทุกคนสามารถสร้างคุณงามความดีได้ทุกคน
"แต่ที่เขาไม่อยากทำ เพราะเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง
"อย่าว่าแต่ฆราวาสเลย พระที่บวชในพุทธศาสนา ถ้าเชื่อจริงๆ จังๆ แล้ว ทำอะไรก็ได้ผล
"เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เรียกว่า สงสัย ลังเล ก็เลยเดินไม่ถูก
"ไม่ว่าสมัยใด ทำเมื่อไหร่ได้เมื่อนั้น" ฯลฯ
ใครก็ตามที่ต้องการปฏิบัติให้จิตสงบ ท่านให้คำแนะนำง่ายๆ ว่า ให้เลือกยึดอนุสติ 10 มาเป็นหลักพิจารณาเพียงหนึ่งอย่าง โดยเลือกให้ถูกกับอุปนิสัยของตนเอง และเลือกข้อที่นำมาปฏิบัติแล้ว เกิดความสลดสังเวช เกิดความเบื่อหน่ายเพื่อที่จะแก้ไขตัวเองได้ ลูกศิษย์ลูกหาที่ได้รับโอสถธรรมจากท่าน สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้มากมาย
ปัจจุบันในวัย 80 ปี หลวงปู่จันทร์โสม ผิวพรรณวรรณะท่านยังผ่องใส สุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมกับเป็นพระปฏิบัติ และไม่เคยละเว้นการสอนศีลสอนภาวนาแก่ญาติโยมที่สนใจ โดยจะย้ำถึงอานิสงส์แห่งการภาวนาอยู่เสมอ
"การภาวนา นอกจากให้ผลทางจิตใจแล้ว
"ความเอ็นดู เมตตาสงสารคนอื่นก็เกิดขึ้น
"ที่เราโกรธเกลียดพยาบาทก็หายไป
"เห็นโทษก็สงสารเขา มีธรรมะในใจ
"ความอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนก็ไม่เกิดขึ้น อยู่หมู่คณะใดก็ไม่เกิดขึ้น" และ
"ขออย่าประมาท อย่าละทิ้งการภาวนา
"ทำเป็นไม่เป็นก็ช่างเถอะ ขอให้ได้ทำอย่างเดียว นานๆ เข้าก็ติดจิตไปด้วย
"สะสมวันละนิด งานก็ใหญ่ขึ้น ทำให้จิตใจเราสบายเป็นอานิสงส์
"จิตใจสบาย มันก็คลุกคลีทุกสิ่งทุกอย่าง
"มันเดือดร้อน เราภาวนาก็ทำให้จิตใจเย็น" ฯลฯ
ผู้อยากพบแสงสว่างทางใจ หมั่นภาวนาตามมรรคาที่ท่านวางไว้โดยพลัน!!
พระพุทธ
4
พระธรรม
4
พระสงฆ์
4
อุบาสก
4
อุบาสิกา
4
ปกิณกะ
4

สมัครสมาชิก:
บทความ
(Atom)